ทวีปออสเตรเลีย

ทวีปแอนตาร์กติก้า

Antarctica

ลักษณะทั่วไป
          ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่เก่าแก่ที่สุดทวีปหนึ่งของโลก  และเป็นทวีปที่ถูกค้นพบภายหลังทวีปอื่นๆ ทั้งหมด   และเป็นทวีปทีมีขนาดเล็กที่สุดของโลก  ออสเตรเลียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทั้งหมด
ขนาด
          ทวีปออสเตรเลียได้ชื่อว่าเป็นทวีปเกาะ (Island Contiment)  เพราะมีลักษณะเป็นเกาะขนาดใหญ่  (ใหญ่กว่าเกาะกรีนแลนด์ ของทวีปอเมริกาเหนือ)  มีเนื้อที่  7.5 ล้านตารางกิโลเมตร  เป็นที่ตั้งของประเทศเพียงประเทศเดียว คือ
          ประเทศออสเตรเลีย   ทวีปออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่เรียกว่า โอเซียเนีย  (Oceania)  หรือ   ออสตราเอเซีย  (Australasia)  ซึ่งหมายถึงทวีปออสเตรเลียกับหมู่เกาะต่างๆ ในภาคกลางและภาคใต้ของมหาสมุทร  แปซิฟิก รวมทั้งหมู่เกาะประเทศนิวซีแลนด์ด้วย
ที่ตั้งและอาณาเขต
          ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ในซีกโลกใต้  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก  มีเนื้อที่ประมาณ  7.6  ล้านตารางกิโลเมตร  มีขอบเขตดังนี้
          ทิศเหนือ    ติดต่อกับทะเลติมอร์  (Timor)  และทะเลอาราฟูรา (Arafura)  ดินแดนที่อยู่เหนือสุดคือ แหลมยอร์ก (Cape Yore)  อยู่ที่ตอนปลายสุดของคาบสมุทรเคปยอร์ก (Cape York Peninsula)   มีช่องแคบทอร์เรส (Torres Strait)  กั้นระหว่างเกาะนิวกินี กับทวีปออสเตรเลีย, อ่าวคาเฟนทาเรีย
          ทิศตะวันออก  ติดกับทะเลคอรัล (Coral)  และทะเลเทสมัน (Tasman)  บริเวณที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของทวีปคือแหลมไบรอน (Cape Byron)
          ทิศใต้   ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  อ่าวเกรดออสเตรเลียไบส์   ส่วนที่อยู่ใต้สุดของออสเตรเลีย คือ  แหลมวิลสัน (Wilson’s Promontory)    มีช่องแคบบาสส์ (Bass Strait)  กั้นระหว่างเกาะแทสเมเนียกับตัวทวีป
          ทิศตะวันตก    ติดกับมหาสมุทรอินเดีย  ส่วนที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของทวีปคือ แหลมสตีป (Steep Point)
     ทวีปออสเตรเลียเป็นทวีปที่อยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากกว่าทวีปอื่นๆ  ทั้งหมด  จากปลายสุดของคาบสมุทรมาลายู ถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปออสเตรเลีย มีระยะทางเพียง 4,300 กิโลเมตรเท่านั้น
ลักษณะภูมิประเทศ
     ตามลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยา  ภูมิประเทศของทวีปออสเตรเลียอาจจะแบ่งออกได้  3  เขตใหญ่ๆ  ดังนี้
1. เขตเทือกสูงทางตะวันออก  (Eastern Highlands)   มีเทือกเขาสูงเป็นแนวยาวจากเหนือมาใต้ของทวีป  ขนานกับชายฝั่งตะวันออก  ตั้งแต่ตอนใต้ของคาบสมุทรเคปยอร์กจนถึงช่องแคบบาสส์  เป็นระยะทางยาวประมาณ 3,500 กิโลเมตร  เรียกว่า เทือกเขาเกรต ดิไวดิง (Great Dividing Range)  ตอนที่สูงที่สุดอยู่ทางตอนใต้ เรียกว่า เทือกเขาแอลป์ออสเตรเลีย (Austrailia Alps)  มียอดสูงสุดคือ ยอดเขาคอสซิอัสโก  (Kosciusko)  มีความสูง 2,198 เมตร  เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปออสเตรเลีย บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย ติดกับทะเลคอรัล  มีแนวเกาะปะการังที่ขนาดใหญ่และสวยที่สุดของโลก คือ เกรต แบเรียรีฟ (Great Barrier Reef) ยาวประมาณ 2,000 กิโลเมตร  เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนี่งของโลก
2. เขตที่ราบสูงหินเก่าทางตะวันตก (The West Australian Shield)  มีเนื้อที่มากกว่าครึ่งหนึ่งของทวีป  ในทางธรณีวิทยาเป็นหินเปลือกโลกที่มีอายุเก่าแก่มาก  ภายในที่ราบสูงนี้มีเทือกเขาเตี้ยๆ ตั้งอยู่ใกล้ขอบด้านตะวันตก  และด้านตะวันออก เช่น เทือกเขาดาร์ลิง (Darling Range) เทือกเขาแฮเมอร์สลีย์ (Hamersley)  ทางด้านตะวันตก     เทือกเขาแมกดอนเนลล์ (Mac Donnell Renge)   เทือกเขามัสเกรฟ (Musgrave Range) ทางตะวันออก     บริเวณนี้มีทะเลทรายสำคัญ คือ เกรตแซนดี (Grean Sandy Desert)  ทางตอนเหนือ   ทะเลทรายกิบสัน (Gibson Desert) ทางตะวันออก   ทะเลทรายวิมป์สัน (Simpson Desert)  ทะเลทรายเกรตวิกตอเรีย (Great Victoria Desert)  ทางตอนใต้
3. เขตที่ราบภาคกลาง  (The Central Plain)  ประกอบด้วยที่ราบขนาดใหญ่ 4 แห่ง  อยู่ระหว่างเขตเทือกเขาสูงทางตะวันออก กับ เขตที่ราบหินเก่าทางตะวันตก  ได้แก่ที่ราบอ่าวคาร์เปนตาเรีย  (Gulf of Carpentaria Plain)   เป็นที่ราบอยู่ทางชายฝั่งตอนเหนือของทวีป  มีแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงอ่าวคาร์เปนตาเรีย  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าที่ราบลุ่มทะเลสาบแอร์  (Lake Eyre Basin)   เป็นที่ราบลุ่มรอบๆ ทะเลสาบแอร์ ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำเค็มที่ใหญ่ที่สุดของทวีปออสเตรเลียที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์-ดาร์ลิง  (The Murray and Darling Basin)  เป็นที่ราบใหญ่และสำคัญที่สุดของทวีปออสเตรเลีย  เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์ และ แม่น้ำดาร์ลิง  ซึ่งไหลลงทะเลที่อ่าวเกรตออสเตรเลียไบท์  ทางตอนใต้  แม่น้ำดาร์ลิงเป็นแม่น้ำสายยาวที่สุดของทวีปออสเตรเลียที่ราบรอบอ่าวเกรตออสเตรเลียไบท์ (Great Australian Bight Plain)  อยู่ทางตอนใต้ของทวีปออสเตรเลีย  ส่วนใหญ่เป็นเขตแห้งแล้งกันดาร  เรียกชื่อว่า “ที่ราบนันลาบอร์” (Nullabor Plain)  เป็นพื้นทีที่เริ่มเป็นทะเลทราย  จึงทำให้พื้นทีในบริเวณนี้ไม่มีต้นไม้ขึ้นเลย
ลักษณะภูมิอากาศ
         จากที่ตั้งและรูปร่างลักษณะของทวีปออสเตรเลีย มีผลต่อลมฟ้าอากาศของทวีปออสเตรเลีย ทั้งหมด  6  ลักษณะ ดังนี้
1.เขตภูมิอากาศทุ่งหญ้าเมืองร้อน  (Tropical Savana Climate)  ได้แก่ดินแดนทางตอนเหนือสุดของทวีป  และคาบสมุทรยอร์ก  ในฤดูร้อนจะมีลมมรสุมพัดมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้  นำฝนมาตกบ้างเล็กน้อย  แต่ในฤดูหนาวอากาศแห้งแล้ง  พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าเมืองร้อน หรือทุ่งหญ้าสาวานา (Savana)
2. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย  (Desert Climate)   ได้แก่บริเวณตอนกลางของที่ราบสูงด้านตะวันตกของทวีปออสเตรเลีย  ป็นเขตที่มีอุณหภูมิสูงและได้รับฝนน้อยมาก  บริเวณนี้มีทะเลทรายสำคัญ คือ  ทะเลทรายเกรตแซนดี (Grean Sandy Desert)  อยุ่ทางตอนเหนือ     ทะเลทรายกิบสัน (Gibson Desert)  ทางด้านตะวันออก    ทะเลทรายซิมป์สัน (Simpson Desert)   ทะเลทรายเกรต วิตอเรีย (Great Victoria Desert)  ทางตอนใต้ของทวีป
3.เขตภูมือากาศแบบกึ่งทะเลทรายเขตอบอุ่น  (Semi-Desert Climate)   เป็นบริเวณที่ราบรอบๆ  ทะเลทรายซึ่งเป็นบริเวณขอบด้านนอกทั้งหมดของเขตที่ราบสูงหินเก่าทางตะวันตก  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศแห้งแล้ง  ฝนตกน้อย  พืชพันธุ์ธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้า
4.เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  (Maditerranean Climate)   ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป  และบริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกของอ่าวเกรตออสเตรเลียไลท์  บริเวณระหว่างลองติจูดที่ 30 – 40 องศาใต้  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศอบอุ่น  มีฝนตกในฤดูหนาว  ส่วนฤดูร้อนอากาศร้อน  เป็นเขตปลูกพืชผลไม้ที่สำคัญของออสเตรเลีย
5.เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น  (Humid Subtropical Climate)   ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปออสเตรเลีย  เป็นบริเวณที่มีอากาศอบอุ่น อุณหภูมิปานกลาง  ฝนตกตลอดปี  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 1,000 มิลิเมตร / ปี  ส่วนมากตกในฤดูร้อน  ฤดูหนาวอากาศอบอุ่น  พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าไม้ผลัดใบเขตอบอุ่น  ส่วนใหญ่เป็นต้นยูคาลิปตัส
6.เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Marine West  Coast  Climate)    ได้แก่บริเวณชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป  บริเวณช่องแคบบาสส์  และบริเวณเกาะแทสเมเนีย  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศอบอุ่นในฤดูร้อน  ฤดูหนาวหนาว  มีฝนตกกระจายตลอดปี  เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมประจำตะวันตก  เป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศเหมือนกับทางด้านตะวันตกของทวีปยุโรป  (แต่ในออสเตรเลียอยู่ทางตะวันออก เพราะทวีปออสเตรเลียตั้งอยู่ในฉีกโลกใต้  ทำให้ลมประจำตะวันตกผัดเข้าสู่ชายฝั่งด้านตะวันออกของออสเตรเลีย)
ทรัพยากรและอาชีพ
          การเพาะปลูก    พืชสำคัญที่ปลูกมากในออสเตรเลียได้แก่  ข้าวสาลี  ซึ่งส่งเป็นสินค้าออกมาเป็นอันดับ 4 ของโลก (รองจากสหรัฐอเมริกา  แคนาดา  และอาร์เจตินา)  บริเวณที่ปลูกข้าวสาลีมากได้แก่บริเวณเขตภูมิอากาศอบอุ่น  ที่ราบชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้  แถบลุ่มแม่น้ำเมอร์เรย์    บริเวณเขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ทางตอนเหนือของทวีปออสเตรเลีย จะใช้ในการเพาะปลูกพืชเมืองร้อนที่สำคัญได้แก่  อ้อย  ฝ้าย  ยาสูบ  ในรัฐควีนแลนด์
          การเลี้ยงสัตว์    แกะเป็นสัตว์เลี้ยงทีสำคัญและมีชื่อเสียงมากทีสุดของโลก  ออสเตรเลียมีแกะพันธุ์ที่ให้ทั้งขนและเนื้อคุณภาพดีทีสุด คือ  แกะพันธุ์เมอริโน  (Merino)   เขตเลี้ยงแกะที่สำคัญได้แก่บริเวณรัฐนิวเซาท์เวลส์  และควีนแลนด์  บริเวณทุ่งหญ้ารอบๆ เขตที่ราบหินเก่าด้านตะวันตกจะใช้ในการเลี้ยงวัวเนื้อ แกะพันธุ์เนื้อพื้นที่ส่วนใญ่ของทวีปออสเตรเลียมีภูมิอากาศแห้งแล้ง  ทำให้ออสเตรเลียมีปัญหาเรื่องแหล่งน้ำที่จะใช้ในการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก  ซึ่งออสเตรเลียแก้ไขปัญหานี้ด้วยการ ขุดบ่อน้ำบาดาล  (Artesian Wells)   จากแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่หลายแห่ง   แหล่งบ่อน้ำบาดาลขนาดใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียมีชื่อว่าเกรต อาทีเซียน  เบซิน (The Great  Artesian  Basin)    อีกวิธีการหนึ่งคือการทำการชลประทาน  เป็นการสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำ  และขุดคลองส่งน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร   แม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการชลประทานของออสเตรเลียคือแม่น้ำเมอร์เรย์และสาขาต่างๆ
           การล่าสัตว์     ชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียเป็นพวกที่มีเชื้อชาติ อะบอริจิน  (Aborigin)   ซึ่งดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์  โดยใช้เครื่องมือล่าสัตว์ง่ายๆ  และโบราณ เช่น หอก  และบูเมอแรง (Boomerang)   ซึ่งเป็นอาวุธประจำตัวของชนชาติอะบอริจินโดยเฉพาะ   สัตว์ที่ล่าได้แก่  จิ้งโจ้  ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีอยู่เฉพาะทวีปออสเตรเลียเท่านั้น  นอกจากนี้ก็มีสุนัขป่าชนิดหนึ่งที่เรียกว่า  ดิงโก  ในเขตทะเลสาบแอร์    สัตว์ป่าที่อยู่เฉพาะในทวีปออสเครเลียเท่านั้นนอกจากจิ้งโจ้แล้วก็มี  หมีโคอะล่า      ตุ่นปากเป็ด (Patipus) ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวของโลกที่ออกลูกเป็นไข่
          การป่าไม้    ในเขตอาอาศชื้นทางชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย  มีการทำป่าไม้กันมาก  ป่าส่วนใหญ่เป็นป่ายูคาลิปตัส
          การประมง    ออสเตรเลียทำการประมงกันมากทางชายฝั่งด้านตะวันออกของทวีป  บริเวณทะเลติมอร์    ทะเลอาลาฟูลา   ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  ปลาที่จับได้ส่วนใหญ่ได้แก่ ปลาทูนา  ปลาแซลมอน  นอกจากนี้ก็มีการเลี้ยงหอยมุก  ซึ่งทำกันมากที่เกาะเธอร์สเดย์ (Thursday  Island)  ทางตอนเหนือสุดของคาบสมุทรยอร์ก
          การขุดแร่    ทวีปออสเตรเลียมีแร่ที่มีค่า เช่น
–  เหล็ก    ที่เมืองไอออนน็อบ (Iron  Knob)  ในรัฐออสเตรเลียใต้
–  ถ่านหิน    ที่เมืองซิดนีย์  (Sydney)  ทางชายฝั่งด้านตะวันออกของออสเตรเลีย  เป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของทวีปออสเตรเลีย
–  ทองคำ    ที่เมืองคาลกูร์ลี  (Kalgoorlie)   ในรัฐออสเตรเลียตะวันตก  ตอนใน
–  ดีบุก    ที่เมืองเฮอร์เบอร์ตัน  (Herberton)   และสแตนทอร์บ  (Stantorp)  ในรัฐควีนสแลนด์
–  น้ำมัน   ที่อ่าวเอ็ดซมัช โรมา  ในรัฐควีนแลนด์  และช่องแคบบาสส์
         อุตสาหกรรม     อุตสาหกรรมในออสเตรเลียยังไม่ค่อยก้าวหน้ามากนัก   เนื่องจากขาคแคลนแรงงาน  และมีประชากรอยู่น้อย  ทำให้ค่าจ้างแรงงานสูงมาก  อุตสาหกรรมที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร  เช่น  ผลิตภัณฑ์จากสัตว์  ออสเตรเลียเป็นทวีปที่ส่งเนื้อสัตว์ออกมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก  รองจากสหรัฐอเมริกา และอาร์เจนตินา  รองลงมาได้แก่  การทำนม  เนย  ผลไม้กระป๋อง  เหล้าองุ่น   การทอผ้า  และการฟอกหนัง     แหล่งอุตสาหกรรมสำคัญของออสเตรเลียอยู่ที่เมืองนิวเซาท์เวลส์  การทอผ้าขนสัตว์ที่เมืองซิดนีย์   การทำเหล็กกล้าที่เมืองนิวคาสเซิล   โรงงานถลุงเหล็กและปุ๋ยเคมีที่เมือง ปอร์ด เคมบลา  (Port  Kembla)

ใส่ความเห็น