ทวีปแอฟริกา

ทวีปแอฟริกา

Africa

 ลักษณะทั่วไป
           ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีชื่อเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า กาฬทวีป  เป็นทวีปที่ยังมึความล้าหลังทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม  และวัฒนธรรม   (ยกเว้นประเทสแอฟริกาใต้ ซึ่งปกครองโดยชนชาติผิวขาว)   แม้ว่าทวีปแอฟริกาจะมีขนาดทวีปที่ใหญ่โตมาก  แต่สภาพทางภูมิศาสตร์หลายประการไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาประเทศได้  โดยเฉพาะด้านคุณภาพของประชากร  ซึ่งมีคุณภาพค่อนข้างต่ำ
ขนาด
          ทวีปแอฟริกามีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากทวีปเอเซีย  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 30 ล้านตารางกิโลเมตร
ที่ตั้งและอาณาเขต
          ทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ทางใต้ของทวีปยุโรป  และทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเซีย  มีเส้นศูนย์สูตรผ่านเกือบกึ่งกลางของทวีป  ทำให้ทวีปแอฟริกาตั้งอยู่ทั้งซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้  โดยมีขอบเขตของทวีปดังนี้
          ทิศเหนือ  ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  มีแหลมบลังก์ (Cape Blanc)  เป็นดินแดนเหนือสุดของทวีป ที่ยื่นเข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับช่องแคบจิบรอลตา  (Strait of Gibralta) และทางตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง (Red  Sea)    คลองสุเอซ    และคาบสมุทรซีนาย (Sina  Peninsula)  หรือบางครั้งเรียกว่า สามเหลี่ยมซีนาย (Sina  Trilateral)
          ทิศตะวันออก   ติดต่อกับทะเลแดง  และมหาสมุทรอินเดีย  มีแหลมแฮฟูน (Cape Hafun)  ในประเทศโซมาเลียเป็นส่วนที่อยู่ด้านตะวันออกสุดของทวีป  ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับอ่าวเอเดน (Gulf of Aden)  และทางตะวันออกเฉียงใต้เป็นเกาะมาดากัสการ์  (Madagascar)  และช่องแคบโมเซมบิค (Mozambique)
          ทิศใต้   ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย  ส่วนที่อยู่ใต้สุดคือ แหลมอะกัลลัส (Cape Agulhas)  ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแหลมกู๊ดโฮป (Cape of  Good Hope)
          ทิศตะวันตก   ติดต่อกับมหาสุทรแอตแลนติก   มีอ่าวใหญ่อยู่ตอนกลางคือ อ่าวกีนี (Gulf  of  Guinea)  ส่วนที่อยู่ตะวันตกสุดของทวีปคือ แหลมเวอร์ด (Cape Vert)  ในประเทศเซเนกัล
ลักษณะภูมิประเทศ
          ประมาณ  2  ใน  3  ของเนื้อที่ทวีปทั้งหมด เป็นที่ราบสูง  พื้นทีที่เป็นที่ราบลุ่มมีอยู่น้อยมาก  ส่วนใหญ่เป็นที่ราบแคบๆ  ตามบริเวณชายฝั่ง  ตามลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาพอจะแบ่งภูมิประเทศของทวีปแอฟริกาออกได้  5  เขตใหญ่  คือ
1.เขตภูเขาภาคเหนือ   ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป  ในพื้นที่ประเทศโมร๊อกโก   แอลจีเรีย  และตูนีเซีย  มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูง ซึ่งเป็นเทือกเขาเกิดใหม่  เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส  มียอกเขาสูงที่สุดคือ ทูบคาล (Mt. Tubkal)
2.เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ  มีที่ราบลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆ  4  สาย คือที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์   อยู่ทางตอนเหนือของทวีป  ซึ่งไหลผ่านประเทศซูดาน  และประเทศสาธารณรัฐอาหรับที่ราบลุ่มแม่น้ำไนเจอร์   อยู่ทางตะวันตกของทวีป  ซึ่งไหลผ่านประเทศมาลี  ประเทศสาธารณรัฐอาหรับที่ราบลุ่มแม่น้ำคองโก   อยู่ทางตอนกลางของปทวี  ในเขตศูนย์สูตร อยู่ในประเทศคองโกที่ราบลุ่มแม่น้ำเบซี   อยู่ทางตอนใต้ของทวีป  ซึ่งไหลผ่านประเทศแซมเบีย   ประเทศโรดีเซียใต้  และประเทศโมซัมบิก
3.เขตเทือกเขาและที่ราบสูงทางตะวันออก   ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา  เป็นบริเวณที่มีความสูงมากที่สุดลักษณะพื้นที่ทั่วๆ ไปเป็นที่ราบสูงและมีภูเขาสูงๆ  ภูเขาส่วนใหญ่เป็นภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว  มียอดเขาสูง  เช่น เทือกเขาคิลิมาจาโร(Mts. Kilimanjaro)   ในประเทศแทนแกนยิกา  เป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในทวีป มียอดสูงสุดชื่อว่า ยอดเขาคีนยา (Kenya)   ซึ่งมีหิมะปกคลุมตลอดปี เนื่องจากมีระดับความสูงอยู่ในแนวหิมะ (Snow line)     ในเขตที่ราบสูงทางตะวันออกนี้มีทะเลสาบขนาดใหญ่มากมาย ที่สำคัญเช่น ทะเลสาบวิกตอเรีย  ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดของโลก  รองจากทะเลสาบสุพีเรียในทวีปอเมริกาเหนือ  ทะเลสาบแทนแกนยิกา    ทะเลสาบแอลเบิร์ต  ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก (rift velley)
4.เขตที่ราบสูงและเทือกเขาสูงทางตอนใต้   เป็นที่ราบสูงหินแกรนิต  เรียกว่า แรนด์ (The Rand)   หรือวิกวอเตอร์สแรนด์ (Witwatersrand)   เป็นแหล่งแร่ทองคำที่สำคัญของโลก  มีเทือกเขาสูงขนานไปกับฝั่งมหาสมุทรอินเดีย คือ เทือกเขาดราเคนเบิร์ค (Drakensberg Mts.)   มียอดเขามองค์ซูกส์ (Mont aux Sources)  เป็นยอดสูงสุด    ทางด้านตะวันตกเป็นเขตน้ำแห้ง  มีทะเลทราย เช่น ทะเลทรายคาลาฮารี  (Kalahari Desert)  และทะเลทรายนานิบ (Namib Desert)  ระหว่างที่สูงที่หน้าผาเล็กๆ แยกจากกัน ซึ่งแต่ละส่วนเรียกว่า คาร์รู (Karroo)
5.เขตที่ราบสูงและทะเลทรายทางตะวันตก    ได้แก่ที่ราบสูงกว้างใหญ่ ตั้งแต่บริเวรทะเลทรายคาราฮารี จนถึงอ่าวกินี  เป็นที่ราบสูงหินเก่า  ปกลุ่มด้วยหินและดินตะกอน
ลักษณะภูมิอากาศ
          ทวีปแอฟริกามีพื้นที่อยู่ในเขตร้อนเป็นส่วนใหญ่   ส่วนที่อยู่ในเขตอบอุ่นมีน้อย  พอจะแบ่งเขตภูมิอากาศได้เป็น 6  เขต คือ
1.ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน  หรือ  เขตทรอปิก   มีอากาศร้อนจัด  ฝนตกชุก  อุณหภูมิสูงตลอดปี
พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าดงดิบ  ได้บริเวณประเทศคองโก  มีที่ราบชายฝั่งรอบๆ อ่าวกินี  และบริเวณที่ราบสูงด้านตะวันออกของทวีป
2.ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าเขตร้อน  หรือ  ทุ่งหญ่าสาวานา     มีฝนตกชุกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาวพืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นป่าผลัดใบเขตร้อน (ป่าเบญจพรรณ)   บริเวณที่แห้งแล้ง มีฝนตกน้อยจะเป็นทุ่งหญ้าเขตร้อน หรือทุ่งหญ้าสาวานา   ได้แก่บริเวณทางตอนเหนือและทางตอนใต้ของเส้นศูนย์สูตร
3.ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากี่งทะเลทรายเขตอบอุ่น  หรือ  ทุ่งหญ้าสแตปป์     ลักษณะภูมิอากาศไม่แห้งแล้งมากเหมือนเขตทะเลทราย  ฝนตกน้อย  พืชพันธุ์ธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขึ้นเบาบาง  เรียกว่า ทุ่งหญ้าสแตปป์  ได้แก่ อ่าวซิดรา และบริเวณรอบเขตทะเลทรายต่างๆ
4.ภูมิอากาศแบบทะเลทราย   ลักษณะภูมิอากาศร้อนแห้งแล้งมากที่สุด  มีฝนตกน้อยมาก  ได้แก่บริเวณทะเลทรายต่างๆ  เช่น  ทะเลทรายสะฮารา  ทะเลทรายลิเบีย  ทะเลทรายกาลาฮารี  และทะเลทรายนามิบ
5.ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน   อยู่ทางตอนเหนือของทวีป ได้แก่บริเวณชายฝั่งบาร์บารี (Barbary Coast)  และทางตอนใต้ของทวีปบริเวณด้านตะวันตกของแหลมกูดโฮป (Cape of Good Hope)
6.ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น  มีฝนตกมากในฤดูร้อน  ฤดูหนาวอบอุ่น  มีกระแสน้ำอุ่นโมซัมบิกไหลผ่าน  ได้แก่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป  ทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นในแอฟริกาเรียกว่า “ทุ่งหญ้าไฮเวย์”   มีลักษณะเดียวกันกับทุ่งหญ้าสแตปป์ในทวีปยุโรป
ทรัพยากรและอาชีพ
          การเพาะปลูก     ในเขตอากาศร้อนชื้นบริเวณแอฟริกาตะวันตก   ลุ่มแม่น้ำคองโก  และชายฝั่งแอฟริกาด้านตะวันออก  มีการปลูกพืชเมืองร้อนหลายชนิด  เช่น ปาล์มน้ำมัน  และโกโก้  ซึ่งทวีปแอฟริกาปลูกได้มากที่สุดของโลก  นอกจากนี้มีการปลูก กาแฟ  อ้อย  ฝ้าย  และป่านศรนารายณ์   ในเขตเมดิเตอร์เรเนียน มีการปลูกข้าวสาลี  และพืชผลไม้
          การเลี้ยงสัตว์  การเลี้ยงสัตว์ในทวีปแอฟริกาทำกันแพร่หลายมาก  เพราะมีอากาศแบบทุ่งหญ้าเป็นบริเวณกว้าง  วัวที่เลี้ยงเป็นวัวพันธุ์พื้นเมืองที่เรียกว่า “วัวเขายาว” (Long – horned cattle)  ส่วนใหญ่เป็นการเลี้ยงแบบพื้นบ้านที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ปัญหาการลี้ยงวัวในเขตนี้ทีสำคัญคือ  การแพร่ของเชื้อโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่มีแมลงเซตซี (Tsetse Fly)  ซึ่งบางเขตไม่อาจเลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากมีแมลงชนิดนึ้ชุกชุมมาก   ในเขตทะเลทรายมีการเลี้ยงอูฐ  และแกะ  โดยทำการเลี้ยงแบบอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล อย่างเช่น ในทะเลทรายสะฮารา  และทะเลทนายลิเบีย   ในเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน และบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นชื้น  มีการเลี้ยงวัวเนื้อ  วัวนมแพะ  แกะ เป็นจำนวนมาก  โดยนำแกะพันธุ์เมอริโนจากทวีปออสเตเลียมาเลี้ยงเป็นส่วนใหญ่
         การล่าสัตว์    ทวีปแอฟริกามีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มาก และหลากหลายชนิด  ทำให้ทวีปแอฟริกามีชื่อเสียงในการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า และการล่าสัตว์ป่า  สัตว์ป่าที่ถือเป็นสัญญลักษณ์ประจำทวีปแอฟริกาได้แก่  สิงโต   ม้าลาย  ยีราฟ  แรด  และช้างแอฟริกา   มีชนพื้นเมืองบางเผ่ายังคงดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ เช่น พวกปิ๊กมี่  ซึ่งอาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำคองโก และพวกบุชแมน ที่อาศัยอยู่ในทะเลทรายกาลาฮารี เป็นต้น
         การป่าไม้  เขตที่มีความสำคัญในการทำป่าไม้ของทวีปแอฟริกา คือบริเวณชายฝั่งอ่าวกินี  ซึ่งอากาศร้อนชื้น  มีฝนตกชุก  และอยู่ใกล้ทะเล  ไม้ที่นำออกจำหน่ายมากได้แก่ไม้มะฮอกกานี  การตัดไม้ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในการทำเชื้อเพลิงในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่  การส่งออกจำหน่ายในตลาดมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
          การประมง  แหล่งประมงสำคัญของทวีปแอฟริกา  ได้แก่น่านน้ำชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้  ตั้งแต่แหลมกูดโฮปจนถึงปากแม่น้ำคองโก  ในเขตนี้มีกระแสน้ำเย็นเบงเกลา ไหลผ่าน  ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เป็นประเทศที่จับปลาได้มากที่สุดในทวีปแอฟริกา  เมื่อเปรียบเทียบกับทวีปอื่นๆ แล้วยังนับว่ามีปริมาณการจับปลาน้อยกว่าทวีปอื่นๆ
          การอุตสาหกรรม    อุตสาหกรรมของทวีปแอฟริกายังอยู่ในขั้นเริ่มต้น  ที่สำคัญมากที่สุดคือ  การขุดแร่  สาธารณรัฐแอฟริกาใต้มีการขุดแร่ ทองคำ  และเพชร  มากที่สุดของโลก  เหมืองทองคำที่สำคัญอยู่ที่เมืองวิตวอเตอร์สแรนด์  ในมณฑลทรานสวาล  และเหมืองเพชรที่เมืองคิมเบอร์ลีย์  ในมณฑลเคปโบรวินซ์   นอกจากนี่บริเวณทางภาคใต้ตอนบนของทวีปยังเป็นแหล่ง แร่ยูเรเนียมขนาดใหญ่อีกด้วย
ประชากร
          ทวีปแอริกาเป็นดินแดนที่มีอารยธรรมหลายรูปแบบ คืออารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์   ในประเทศอียิปต์ ทางตอนเหนือของทวีปอารยธรรมฟีนีเซีย  ทางฝั่งทะเลเมติเตอร์เรเนียน  ทางตะวันตกเฉียงเหนืออายธรรมโรมัน  ทางตอนเหนือ (ภายหลังการขยายตัวของอณาจักรโรมัน ในคริสต์ศตวรรษที่  6 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15)  ซึ่งชาวโรมันได้ขนานนามทวีปแอฟริกาว่า “ทวีปมืด”  (Dark Continent)
             ประชากรในทวีปแอฟริกา  แบ่งตามเชื้อชาติเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
                        กลุ่มนิโกร
          พวกบันดู  (Bantu)   เป็นชนเผ่าใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา  อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกและทางใต้ของทวีป
          พวกซุดานนิโกร  (Sudanese  Negro)  เป็นเชื้อสายนิโกรที่มีรูปร่างสูงใหญ่  อาศัยอยู่ทางตะวันตกของทวีป  ชายฝั่งอ่าวกินี  พวกนิโกรพวกนี้ถูกนำไปขายเป็นทาสในทวีปอเมริกาเหนือ
          พวกปิ๊กมี่  (Pygmy)   มีรูปร่างเตี้ยเล็ก  มีความเจริญล้าหลังมาก  อาศัยอยู่ในเขตป่าลุ่มแม่น้ำคองโก  เลี้ยงชีวิตด้วยการล่าสัตว์และเก็บของป่า
          พวกบุซเมน  และ  ฮอทเทนทอต  (Bushmen  and  Hottentot)   อยู่ในแอฟริกาใต้  ทะเลทรายกาลาฮารี  มีจำนวนเหลืออยู่ไม่มากนัก  พวกบุชแมน เลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์  ส่วนพวกฮอทเทนทอตเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสัตว์
          พวกแฮไมท์  (Hamites)   เป็นชนพื้นเมืองที่อาศํยอยู่ทางภาคเหนือของทวีป  เดิมกระจายอยู่อย่างกว้างขวางตั้งแต่ฝั่งทะเลแดงจนถึงฝั่งแอตแลนติก  แต่ในปัจจุบันมีเหลืออยู่ไม่มากนัก  แถบเทือกเขาแอตลาส
          พวกเซไมท์  (Semites)   เป็นพวกเชื้อสายอาหรัรบที่อพยพมาจากเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เข้ามาในสมัยกลาง  ปัจจุบันอาศัยอยู่มากในบริเวณลุ่มแม่น้ำไนล์
          กลุ่มซาวเอเซีย    ชาวเอเชียที่เข้าไปตั้งหลักแหล่งในทวีปแอฟริกาส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดีย และชาวอาหรับ  โดยมากอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้
 การคมนาคม
          การคมนาคมในทวีปแอฟริกามีน้อยและล้าหลังกว่าทวีปอื่นๆ  เป็นอันมาก  ทั้งนี้เพราะลักษณะทางภูมิประเทศ และคุณภาพของประชากรในทวีปเป็นสำคัญ
       ทางบก    มีทางรถไฟสายสั้นๆ  อยู่ตามชายฝั่งทะเลเท่านั้น  และมีอยู่ไม่ตลอด  มักขาดเป็นตอนๆ  ประเทศที่มีเส้นทางคมนาคมหนาแน่น  คือ  ประเทศสาะรณารัฐแอฟริกาใต้  มีเมืองโจฮันเนสเบอร์ก (Johannesburg)  เป็นเมืองศูนย์กลางการคมนาคม
      ทางน้ำ     มีเส้นทางเดินเรือหลายสาย  ทางชายฝั่งด้านตะวันตกและในแอฟริกาใต้  เมืองท่าใหญ่อยู่ที่เมืองเคปเทาน์(Cape Town)   ในสาธารณรัฐแอฟริกาใต้          คลองสุเอซ  (Suez Cannal)   เป็นคลองที่ขุดขึ้นเพื่อเชื่อมทะเลแดงกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน  มีระยะทางยาว   160กิโลเมตร  ตั้งแต่เมืองปอร์ตเสด (Port  Said)  ที่ฝั่งเมติเตอร์เรเนียน  ถึงเมืองสุเอซ  ที่อ่าวสุเอซในทะเลแดง   คลองสุเอซขุดขึ้นระหว่างปี  พ.ศ. 2406 – 2412  โดยวิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อ  เฟอร์ดิมานด์  เดอ  เลสเซป  (Ferdinand  de  Lesseps)
      ทางอากาศ   มีสายการบินติดต่อทั้งภายในทวีปและระหว่างทวีป  ศูนย์กลางการคมนาคมทางอากาศ  ได้แก่  ไคโร(อียิปต์)   เซนต์หลุยส์ (เซเนกัล)   แอลเจียร์ (แอลจีเรีย)   โจฮันเสนเบอร์ก และ เคปเทาน์ (แอฟริกาใต้)
 สรุปลักษณะสำคัญของทวีปแอฟริกา
1.ทวีปแอฟริกา  มีขนาดใหญ่เป็นที่สองรองจากทวีปเอเซีย  มีเนื้อที่ประมาณ  30  ล้านตารางกิโลเมตร
2.ลัษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง  มีที่ราบลุ่มอยู่น้อยมาก  เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดพื้นที่ของทวีป
3.มีแม่น้ำสายยาวๆ  อยู่หลายสาย  แต่ใช้ประโยชน์ในการเดินเรือได้น้อย  เพราะแม่น้ำมีแก่งน้ำคั่นขวางลำน้ำอยู่มาก
4.ภูมิอากาศส่วนใหญ่ของทวีปเป็นแบบเมืองร้อน  มีทั้งที่เป็นเขตป่าทึบแถบศูนย์สูตร  ทุ่งหญ้าเมืองร้อนและทะเลทรายเมืองร้อน  มีเขตภูมิอากาศอบอุ่นอยู่เฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือและตอนใต้สุดของทวีป
5.ประชากรส่วนใหญ่ยังมีความเจริญทางเศรษฐกิจล้าหลัง  เลี้ยงชีพด้วยการเพาะปลูก  และเลี้ยงสัตว์  อุตสาหกรรมมีเฉพาะการขุดแร่ทีมีความสำคัญ  และมีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำคองโกและแอฟริการใต้
6.เดิมเป็นอาณานิคมของชาวผิวขาวเกือบทั้งทวีป   แต่ได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง  เกิดเป็นประเทศใหม่ๆ  ขึ้นมามากมาย  และเป็นทวีปที่มีแบ่งซอยออกเป็นประเทศจำนวนมากทีสุด

ใส่ความเห็น